ความเป็นมาของสถาบัน

ความเป็นมาของสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 2

                   พระราชบัญญัติการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2551 กําหนดให้สถาบันการอาชีวศึกษาเกิดจากการรวมสถานศึกษาอาชีวศึกษา โดยคําแนะนําของคณะกรรมการการอาชีวศึกษาและคํานึงถึงการประสานความร่วมมือให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการใช้ทรัพยากรร่วมกัน ทั้งยัง เป็นสถาบันอุดมศึกษาด้านวิชาชีพและเทคโนโลยีมีวัตถุประสงค์ให้การศึกษา ส่งเสริมวิชาการและวิชาชีพชั้นสูงที่ชํานาญการปฏิบัติ การสอน การวิจัย การถ่ายทอดวิทยาการและเทคโนโลยี ทะนุบํารุงศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม รวมทั้งให้บริการวิชาการและวิชาชีพแก่สังคม ตลอดจน กระทรวงศึกษาธิการ ประกาศให้เป็นหน่วยงานการศึกษาเพื่อประโยชน์ในการจัดอัตรากําลังของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

                   สถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 2 สํานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา มีภารกิจเกี่ยวกับการจัดการศึกษา ส่งเสริมวิชาการและวิชาชีพชั้นสูงที่ชํานาญการปฏิบัติ การสอน การวิจัย การถ่ายทอดวิทยาการและเทคโนโลยี ทะนุบํารุงศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม รวมทั้งให้บริการวิชาการและวิชาชีพแก่สังคม โดยมีอํานาจหน้าที่และความรับผิดชอบ ดังนี้

                                      (ก) จัดการศึกษาและการฝึกอบรมวิชาชีพเพื่อผลิตและพัฒนากําลังคนในด้านวิชาชีพ ระดับฝีมือ ระดับเทคนิค ระดับปริญญาสายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการ รวมทั้งส่งเสริมวิชาการและวิชาชีพชั้นสูงมีความชํานาญในการสอน

                                      (ข) ส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยพัฒนามาตรฐานการอาชีวศึกษา การถ่ายทอดวิทยาการ และเทคโนโลยี การทะนุบํารุงศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ให้บริการวิชาการและวิชาชีพแก่สังคม

                                      (ค) จัดทําข้อเสนอแนะ แนวนโยบาย แผนพัฒนาสถาบัน ให้สอดคล้องกับมาตรฐาน การอาชีวศึกษา มาตรฐานวิชาชีพ และหลักสูตรการอาชีวศึกษาของสถาบัน

                                      (ง) ส่งเสริม ประสานความร่วมมือระหว่างสถานศึกษาอาชีวศึกษาหรือสถาบันการศึกษา อาชีวศึกษาเอกชน สถานประกอบการ ภาคเอกชนหรือหน่วยงานของรัฐในการเข้าร่วมเป็นเครือข่ายของสถาบันเพื่อประโยชน์ทางวิชาการ การวิจัยพัฒนาการอาชีวศึกษาและการจัดการอาชีวศึกษา และการฝึกอบรมวิชาชีพ

                                      (จ) ดําเนินการเกี่ยวกับการเสนอจัดตั้งงบประมาณ การจัดหารายได้ การบริหารงาน งบประมาณการเงินและทรัพย์สินของสถาบัน

                                      (ฉ) ดําเนินการเกี่ยวกับการควบคุมคุณภาพมาตรฐานการอาชีวศึกษา การติดตามตรวจสอบ การประเมินผลการบริหารจัดการของสถาบันให้สอดคล้องกับนโยบาย แผนพัฒนา และมาตรฐานการอาชีวศึกษา

                                      (ช) ดําเนินงานเกี่ยวกับงานเลขานุการสภาสถาบันและดําเนินการตามที่สภาสถาบันมอบหมาย

                                      (ซ) ปฏิบัติงานอื่นใดตามที่กฎหมายกําหนดให้เป็นอํานาจหน้าที่และความรับผิดชอบ ของสภาสถาบันหรือตามที่สํานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษามอบหมาย

                   ข้อ 1 ให้จัดตั้งส่วนราชการในสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 2 สํานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ดังต่อไปนี้

                                      (1) สํานักงานผู้อํานวยการสถาบัน

                                      (2) สํานักพัฒนายุทธศาสตร์และความร่วมมืออาชีวศึกษา

                                      (3) สํานักพัฒนากิจการนักศึกษาและกิจการพิเศษ

                                      (4) ศูนย์วิจัยและพัฒนาการอาชีวศึกษา

                                      (5) อาชีวศึกษาบัณฑิต

                                      (6) วิทยาลัยเทคนิคระนอง

                                      (7) วิทยาลัยเทคนิคพังงา

                                      (8) วิทยาลัยเทคนิคภูเก็ต

                                      (9) วิทยาลัยอาชีวศึกษาภูเก็ต

                                      (10) วิทยาลัยเทคนิคกระบี่

                                      (11) วิทยาลัยเทคนิคตรัง

                                      (12) วิทยาลัยการอาชีพตรัง

                   ข้อ 2 ส่วนราชการของสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 2 มีอํานาจหน้าที่ดังต่อไปนี้

                                      (1) สํานักงานผู้อํานวยการสถาบัน มีอํานาจหน้าที่ดังต่อไปนี้

                                                         (ก) งานช่วยอํานวยการและงานเลขานุการของสถาบัน งานการประชุมอื่น ๆ ของสถาบัน

                                                         (ข) ประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกสถาบัน

                                                         (ค) ดําเนินการเกี่ยวกับการบริหารงานทั่วไป งานสารบรรณ งานวิเทศสัมพันธ์ งานการตลาด เผยแพร่และประชาสัมพันธ์กิจการสถาบัน

                                                         (ง) ดําเนินการเกี่ยวกับการบริหารงานการเงิน การบัญชี การพัสดุอาคารสถานที่ งบประมาณและทรัพย์สินของสถาบัน

                                                         (จ) ดําเนินการเกี่ยวกับการบริหารงานบุคลากร ส่งเสริมวิจัย และระบบคุณธรรมของบุคลากร

                                                         (ฉ) ดําเนินการเกี่ยวกับงานกฎหมาย นิติกรรม สัญญา งานเกี่ยวกับความรับผิดชอบทางแพ่งทางอาญา งานคดีปกครอง และงานคดีอื่นที่อยู่ในหน้าที่ของสถาบัน

                                                         (ช) ปฏิบัติงานอื่นที่ไม่ได้กําหนดให้เป็นหน้าที่ของส่วนราชการใดในสถาบัน รวมทั้งส่งเสริมการดําเนินงานของวิทยาลัยและหน่วยงานในสถาบัน

                                                         (ซ) ปฏิบัติงานหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานร่วมกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือ ได้รับมอบหมาย

                                      (2) สํานักพัฒนายุทธศาสตร์และความร่วมมืออาชีวศึกษา มีอํานาจหน้าที่ดังต่อไปนี้

                                                         (ก) จัดทําแผนพัฒนาของสถาบันเกี่ยวกับการอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมวิชาชีพ ให้สอดคล้องกับนโยบายการศึกษาของชาติ

                                                         (ข) ศึกษาและวางแผนการผลิต เพื่อพัฒนาคุณภาพกําลังคนสู่มาตรฐานสากล บนพื้นฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

                                                         (ค) ศึกษา วิเคราะห์ ประเมินผลข้อมูลสารสนเทศ เพื่อการวางแผนยุทธศาสตร์ และความร่วมมืออาชีวศึกษา ให้มีความสามารถในการจัดการอาชีวศึกษา และการฝึกอบรมวิชาชีพ แข่งขันสู่การพัฒนาเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตที่ดี

                                                         (ง) ประสาน ส่งเสริม สนับสนุนการจัดอาชีวศึกษาโดยความร่วมมือกับสถานศึกษา เอกชน สถานประกอบการ ให้สามารถจัดการอาชีวศึกษาสอดคล้องกับ นโยบายและมาตรฐานการอาชีวศึกษาเพื่อใช้ทรัพยากรร่วมกันให้เกิด ประโยชน์สูงสุด

                                                         (จ) จัดให้มีทุนและแหล่งทุนเพื่อพัฒนาการอาชีวศึกษา และการสร้างเครือข่าย เชิงการตลาด การธุรกิจร่วมกับทุกภาคส่วน และการส่งเสริมการบริหาร จัดการและการพัฒนาปรับปรุงวิทยาลัยและสถาบัน

                                                         (ฉ) การติดตาม ประเมิน และการรายงานผลการจัดการอาชีวศึกษาและ การฝึกอบรมวิชาชีพดําเนินการตามตัวชี้วัดและมาตรฐานการอาชีวศึกษา

                                                         (ช) ดําเนินการเกี่ยวกับการติดตาม ประเมิน และการรายงานผลการจัดการ อาชีวศึกษาและการฝึกอบรมวิชาชีพ ดําเนินการตามคํารับรองการปฏิบัติ ราชการ และมาตรฐานการอาชีวศึกษา

                                                         (ซ) ปฏิบัติงานหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานร่วมกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย

                                      (3) สํานักพัฒนากิจการนักศึกษาและกิจการพิเศษ มีอํานาจหน้าที่ดังต่อไปนี้

                                                         (ก) ประสานเกี่ยวกับโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริ รวมทั้งโครงการพิเศษอื่น ๆ ที่สถาบันกําหนด หรือสํานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กําหนดให้สถาบันดําเนินการ

                                                         (ข) ประสาน ส่งเสริม สนับสนุนเกี่ยวกับงานด้านการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม งานโครงการ กิจกรรมเกี่ยวกับการพัฒนาการเสริมสร้างคุณภาพและการส่งเสริมความประพฤติผู้เรียน

                                                         (ค) ส่งเสริม สนับสนุน และดําเนินการเกี่ยวกับการพัฒนาความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นและภูมิปัญญาไทย

                                                         (ง) ส่งเสริมและประสานงานการจัดการอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมวิชาชีพสําหรับกลุ่มพิเศษอื่น ๆ

                                                         (จ) ส่งเสริม สนับสนุนทุนทางปัญญา ทุนมนุษย์ และคลังสมองการอาชีวศึกษา

                                                         (ฉ) ปฏิบัติงานหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานร่วมกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ ได้รับมอบหมาย

                                      (4) ศูนย์วิจัยและพัฒนาการอาชีวศึกษา มีอํานาจหน้าที่ดังต่อไปนี้

                                                         (ก) ส่งเสริม สนับสนุนการศึกษา การวิจัย การทดลอง โดยประสานความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน เพื่อร่วมดําเนินการจัดตั้งศูนย์วิจัย ห้องทดลอง ห้องปฏิบัติการ เพื่อพัฒนาการอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมวิชาชีพ

                                                         (ข) สร้างเครือข่ายความร่วมมือการวิจัยทั้งในและต่างประเทศ เพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการ

                                                         (ค) ปฏิบัติงานสนับสนุนการปฏิบัติงานร่วมกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือ ที่ได้รับมอบหมาย

                                      (5) อาชีวศึกษาบัณฑิต มีอํานาจหน้าที่ดังต่อไปนี้

                                                         (ก) การกํากับ ดูแล ควบคุม และการจัดการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรี สายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการในสาขาวิชาต่าง ๆ

                                                         (ข) ส่งเสริมวิชาการและวิชาชีพชั้นสูงที่เน้นการปฏิบัติการสอน การวิจัย ถ่ายทอดวิทยาการและเทคโนโลยี

                                                         (ค) ทะนุบํารุงศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

                                                         (ง) ส่งเสริมและประสานงานให้คณาจารย์ ได้รับการฝึกอบรมและพัฒนาด้านวิชาการ ส่งเสริมความก้าวหน้าและพัฒนาให้มีตําแหน่งทางวิชาการ การวิเคราะห์วิจัยและพัฒนาสิ่งประดิษฐ์ทางการอาชีวศึกษา การพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อการเรียนการสอน และการฝึกอบรมวิชาชีพ รวมทั้งการถ่ายทอดวิทยาการแก่ชุมชนและสังคม

                                                         (จ) ดําเนินการและประสานเกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรการอาชีวศึกษาและวิชาชีพ มาตรฐานการอาชีวศึกษา และมาตรฐานวิชาชีพ การเทียบโอนผลการเรียนหรือ ประสบการณ์ด้านวิชาชีพและการประกันคุณภาพการศึกษา รวมทั้งการให้คําปรึกษาแนะนํา นิเทศ ติดตาม ประเมินผล และรายงานผล

                                                         (ฉ) ประสานการใช้ทรัพยากรของส่วนราชการสังกัดสถาบันและเครือข่าย เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีสมรรถนะสอดคล้องกับหลักสูตรการอาชีวศึกษาและวิชาชีพ มาตรฐานการอาชีวศึกษา และมาตรฐานวิชาชีพ

                                                         (ช) ปฏิบัติงานหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานร่วมกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

                                      (6) วิทยาลัยเทคนิคระนอง วิทยาลัยเทคนิคพังงา วิทยาลัยเทคนิคภูเก็ต วิทยาลัย อาชีวศึกษาภูเก็ต วิทยาลัยเทคนิคกระบี่ วิทยาลัยเทคนิคตรัง และวิทยาลัยการอาชีพตรัง มีอํานาจหน้าที่ดังต่อไปนี้

                                                         (ก) จัดการเรียนการสอนอาชีวศึกษาและฝึกอบรมวิชาชีพ เพื่อผลิตและพัฒนา กําลังคนในด้านวิชาชีพระดับฝีมือและระดับเทคนิค ให้มีสมรรถนะสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติตามหลักสูตรมาตรฐาน การอาชีวศึกษาและมาตรฐาน วิชาชีพ รวมทั้งสอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานทั้งภายในและต่างประเทศ

                                                         (ข) ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานของภาครัฐและเอกชน ชุมชน สังคม สถานประกอบการ ในการจัดการอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมวิชาชีพให้มีความรู้ ความสามารถในทางปฏิบัติและมีสมรรถนะจนสามารถนําไปประกอบอาชีพ ในลักษณะผู้ปฏิบัติหรือประกอบอาชีพอิสระได้ รวมทั้งเป็นศูนย์การเรียนรู้ด้วยตนเอง การให้บริการทางวิชาการแก่ชุมชนและสังคม

                                                         (ค) ดําเนินการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีการศึกษาวิจัย และพัฒนาผู้เรียนให้มีความสามารถในการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์อาชีวศึกษาเป็นศูนย์การเรียนรู้ด้วยตนเอง รวมทั้งการให้บริการทางวิชาการและวิชาชีพแก่ชุมชนและสังคม

                                                         (ง) ปฏิบัติงานหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานร่วมกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับ